วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประเภทของระบบสารสนเทศ


ใบความรู้ที่  2  ประเภทของระบบสารสนเทศ
1   ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ
  (Transaction Processing System : TPS)
       ระบบการประมวลผล เป็นการประมวลผลแบบวันต่อวัน เช่น การรับ-จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบการรับ-จ่าย สินค้า เป็นต้น ใช้งานในระดับผู้ปฏิบัติการ ระบบนี้ เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
                ลักษณะเด่นของ TPS
               ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สิ่งที่ องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ  ลดจำนวนพนักงาน   องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว    ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ           
(Management Information System : MIS)
                คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้ บริหารที่ต้องการการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการ ช่วยงานแบบวันต่อวัน ประกอบไปด้วยโปรแกรมต่าง ที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อขยายขอบเขตความสามารถของธุรกิจ
 ลักษณะเด่นของ MIS
จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บ ข้อมูลรายวัน
จะช่วย ให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
3จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่ เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
4ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการ ใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น   
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
(Decision Support System : DSS)
             คือระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียม สารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วย ในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสิน ใจเกี่ยวกับการรวมบริษัทและการหาบริษัทร่วม การขยายโรงงาน ผลิตภัณฑ์ใหม่
 ลักษณะเด่นของ DSS
1 จะช่วย ผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ                                                                                              
2 จะถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบ กึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง               
3 จะต้อง สามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับ แต่จะเน้น ที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์                       
มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความ สามารถในการจำลองสถานการณ์ และมีเครื่องมือในการ วิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ
 ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
(Executive Information System : EIS)
          คือ EIS ประเภท พิเศษ ที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะช่วย ให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบ สารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบ สัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกัน ทำให้ผู้ บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง
ลักษณะเด่นของ EIS

1ไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
2 ระบบสามารถใช้งานได้ง่าย
มีความยืดหยุ่นสูง จะต้องสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
การใช้งาน ใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
การสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้บริหารระดับสูง ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน
6 การสนับสนุนข้อมูล ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
ผลลัพธ์ที่แสดง ตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
8 การใช้งานกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่าง ๆ
ความเร็วในการตอบสนอง จะต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด
5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ  (ปัญญาประดิษฐ์)
(Artificial Intelligence/Expert System : AI/ES)
               หมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการในสาขาใดสาขาหนึ่ง หรือให้มีพฤติกรรมเหมือนมนุษย์  โดยได้รับ ความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถวิเคราะห์เหตุผล เพื่อตัดสินใจ ระบบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบด้วย ฐานความรู้(Knowledge Base) และกฎข้อวินิจฉัย(Inference Rule) ซึ่งเป็นความ สามารถเฉพาะที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจได้เอง เช่น การวินิจฉัย ความผิดพลาดของรถจักรดีเซลไฟฟ้า โดยใช้คอมพิวเตอร์
 ลักษณะเด่นของ AI/ES
1 ป้องกันและรักษาความรู้ซึ่งอาจสูญหายไปขณะทำการเรียกข้อมูลหรือการยกเลิกการใช้ข้อมูล การใช้ข้อมูล ตลอดจนการสูญหาย เนื่องจากขาดการเก็บรักษาความรู้ อย่างเป็นระบบ และเป็นระเบียบ แบบแผน
2 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งาน และมักจะถูกพัฒนาให้สามารถตอบสนอง ต่อปัญหาในทันทีที่เกิดความต้องการ
3 การออกแบบระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System มักจะคำนึงถึงการบันทึกความรู้ในแต่ละสาขาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งจะทำให้ ระบบสามารถปฏิบัติงานแทนผู้เชี่ยวชาญ อย่างมีประสิทธิภาพ
4 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะสามารถตัดสินปัญหาอย่างแน่นอ น เนื่องจากระบบถูกพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานโดยปราศ จากผล กระทบ ทางร่างกายและอารมณ์ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์เช่น ความเครียด ความเจ็บ ป่วย เป็นต้น
5 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ โดยเฉพาะองค์การสมัยใหม่ ( Modern Organization ) ที่ต้องการ สร้าง ความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การวิเคราะห์และวางแผนการตลาด การลดต้นทุน การเพิ่มการผลิตภาพ เป็นต้น
6. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial data) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยการกำหนดข้อมูลเชิงบรรยายหรือข้อมูลคุณลักษณะ (attribute data) และสารสนเทศ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ (spatial data) เช่น ตำแหน่งบ้าน ถนน แม่น้ำ เป็นต้น ในรูปของ ตารางข้อมูล และ ฐานข้อมูล
ระบบ GIS ประกอบไปด้วยชุดของเครื่องมือที่มีความสามารถในการเก็บรวบรวม ปรับปรุงและการสืบค้นข้อมูล เพื่อจัดเตรียม ปรับแต่ง วิเคราะห์และการแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS ให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาได้ เช่น
ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปล สื่อความหมาย และนำไปใช้งานได้ง่าย
ข้อมูลใน GIS ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน (รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน
7.  ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม
                ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม [Group decision support systems (GDSS)] ได้มีการพัฒนาจากระบบ DSS ซึ่งมีการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในการช่วยสร้างตัวแบบ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ แล้วนำผลที่ได้จกการวิเคราะห์มาช่วยในการตัดสินใจของแต่ละผู้ใช้ซึ่งเป็นเอกเทศต่อกัน จึงทำให้เกิดแนวความคิดที่จะพัฒนาการใช้ข้อมูลร่วมกัน เพื่อทำให้เกิดการตัดสินใจร่วม จึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมกันโดยอาศัยเทคโนโลยีทางการสื่อสาร ในกรณีนี้สมาชิกไม่จำเป็นจะต้องอยู่ที่เดียวกัน อาจจะอยู่ห่างกันแต่ในบริเวณที่จำกัด เราสามารถที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าดัวยกันโดยอาศัยแนวความคิดระบบเครือข่ายเฉพาะที่ [Local area network (LAN)] โดยที่สมาชิกสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือส่งข้อมูลข่าวสารถึงกันได้ แต่ถ้าหากสามาชิกอยู่ห่างไกลกันมากจะต้องใช้ระบบเครือข่ายทางไกล [Wide Area Network (WAN)] ซึ่งอาจมีการประชุมทางไกล (Teleconference) ร่วมกัน
8. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System)
คือ ระบบที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ ทางฮาร์ดแวร์เข้ามาช่วยงานสำนักงานทั้ง 4 ประเภท คือ ระบบการจัดการเอกสาร ระบบการดูแลข่าวสาร ระบบการประชุมทางไกล และระบบสนับสนุนสำนักงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสำนักงานยุคใหม่


อ้างอิง

โครงงานคอมพิวเตอร์
ความหมายและคุณค่าของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
                 โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นงานวิจัยในระดับนักเรียน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีอยู่ในการศึกษา ทดลอง แก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำผลที่ได้มาประยุกต์ใช้งานจริง หรือใช้เพื่อช่วยสร้างสื่อเพื่อเสริมการเรียนให้ได้ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โครงงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกฝนการใช้ทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งเครื่องมือต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา รวมทั้งการพัฒนาการสร้างผลงานจริงอีกด้วย
                 การทำโครงงานคอมพิวเตอร์และการจัดงานแสดงโครงงานจะมีคุณค่าต่อการฝึกฝนให้นักเรียนมีความรู้ ความชำนาญ และมีความมั่นใจในการนำระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเองและยังมีคุณค่าอื่น ๆ อีกดังต่อไปนี้
      1. สร้างความสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาและพัฒนาระบบด้วยตนเอง
      2. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเอง
      3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้ในเรื่องที่นักเรียนสนใจได้ลึกซึ้งกว่าการเรียนในห้องตามปกติ
      4. ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน
      5. กระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิชาสาขาคอมพิวเตอร์ และมีความสนใจที่จะประกอบอาชีพทางด้านนี้
      6. ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์
      7. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนสนใจคอมพิว เตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
      8. เป็นการบูรณาการเอาความรู้จากวิชาต่าง ๆ ที่ได้รับมาจัดทำผสมผสานกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นโครงงานเพื่อนำเสนอต่อชุมชน
                การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์นั้น นักเรียนควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เหตุผลที่ใช้ในการแก้ปัญหา กระบวนการแก้ปัญหา หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น และการแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะเริ่มทำโครงงาน และใช้ความรู้ดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่ในโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยในการทำโครงงานนักเรียนอาจจะมีโอกาสได้ทำความรู้จักกับความรู้ใหม่เพิ่มเติมอีกด้วย เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ฐานข้อมูล (Database) และการสืบค้นข้อมูล (Information Retrieval) เป็นต้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับหัวข้อที่นักเรียนเลือกทำโครงงาน

องค์ประกอบเค้าโครงของโครงงานคอมพิวเตอร์
1. ชื่อโครงงาน ถ้าเป็นโครงงานเกี่ยวกับเว็บไซต์ ใช้ชื่อโครงงานว่า การพัฒนาเว็บไซต์ เรื่อง ............
ข้างต้น ได้แก่ โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา โครงงานพัฒนาเครื่องมือ โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน และโครงงานพัฒนาเกม
2. ชื่อ สกุล ผู้ทำโครงงาน
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
4. ระยะเวลาดำเนินงาน ให้ระบุเวลาเป็นจำนวนวัน เป็นต้น
5. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ อธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกทำโครงงานนี้ โครงงานนี้มีความสำคัญอย่างไร เรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นศึกษาค้นคว้ามาก่อนบ้างแล้ว ถ้ามีผู้อื่นศึกษามาก่อนแล้วผลที่ได้เป็นอย่างไร และเรื่องที่ทำนี้จะขยายเพิ่มเติม ปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นทำไว้อย่างไร หรือเป็นการทำซ้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ
6. วัตถุประสงค์ หลักการเขียนต้องเขียนเป็นข้อๆ และสัมพันธ์มาจากชื่อเรื่องของโครงงาน
7. หลักการและทฤษฎี อธิบายถึงหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน เช่น โครงงานพัฒนาเว็บไซต์ ควรจะกล่าวถึงองค์ประกอบในการออกแบบเว็บไซต์และข้อพิดพลาดในการสร้างเว็บไซต์ เป็นต้น
8. วิธีดำเนินงาน
       - อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ระบุวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้มีอะไรบ้าง วัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นอยู่ที่ใด และมีชิ้นใดบ้างที่ต้องจัดซื้อหรือหยิบยกมาจากที่ต่างๆ
       - กำหนดคุณลักษณะของผลงาน และเทคนิคที่ใช้ในการพัฒนา
       - แนวทางการศึกษาค้นคว้าและพัฒนา อธิบายถึงกระบวนการแก้ปัญหาที่ออกแบบไว้ และการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ การพัฒนา การทดสอบ และการนำเสนอผลงาน
       - งบประมาณที่ใช้
9. แผนปฏิบัติงาน ใช้ระบุว่า มีแผนหรือขั้นตอนทำอะไรบ้าง แต่ละขั้นตอนใช้เวลากี่วัน เป็นต้น
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
11. เอกสารอ้างอิง


http://www.thaigoodview.com/node/37088

ความหมาย ระบบสารสนเทศ


ใบความรู้ที่  1  เรื่อง  ความหมายและลักษณะของระบบสารสนเทศ
             ระบบสารสนเทศเป็นการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเอกสารจำนวนมาก  การทำงานในรูปแบบการทำด้วยมือ  จะต้องใช้เวลาในการประมวลผลนาน  และขาดความน่าเชื่อถือ  ต่อมาจึงมีการพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยกานนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในรูปแบบระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์  ส่งผลให้ทำงานได้รวดเร็ว  และสารสนเทศที่ได้ก็มีความถูกต้องมากขึ้น  ตัวอย่างระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในปัจจุบันได้แก่  การยืม  การคืนหนังสือในห้องสมุด  การเก็บรวบรวมรายชื่อหนังสือ และการทำบัตรรายการ
ความหมายและลักษณะของระบบสารสนเทศ
             ระบบสารสนเทศเป็นการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศอย่างเป็นลำดับขั้นตอน จนทำให้เกิดระบบสารสนเทศขึ้น  ข้อมูล  สารสนเทศ  และระบบสารสนเทศมีความหมายดังนี้
             ข้อมูล  (Data)  คือ ข้อเท็จจริงที่ได้จากการรวบรวมข้อมูล  ซึ่งมีทั้งที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษร  ข้อความ  ตัวเลข  รูปภาพ  และเสียง
            
             สารสนเทศ  (Information)  คือ  ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล  เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจ  เช่น  เกรดเฉลี่ยของนักเรียน  ยอดขายประจำเดือน  และสถิติการขาดงาน

             ระบบสารสนเทศ  (Information  System)  คือ  กระบวนการรวบรวม  บันทึก  ประมวลผล  ข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ  และแจกจ่ายสารสนเทศ  เพื่อใช้ในการวางแผน  ควบคุมการทำงานและช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ
               
                ระบบสารสนเทศมีกระบวนการทำงาน  ตัวอย่างระบบสารสนเทศ  และลักษณะของระบบสารสนเทศที่ดี  ดังนี้
กระบวนการทำงาน
 
                                            
                ระบบสารสนเทศประกอบด้วยกระบวนการทำงานหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
1.  การนำข้อมูลเข้า  (Input)  เป็นการนำข้อมูลดิบ (Data)  ที่ได้จากการเก็บรวบรวมเข้าสู่ระบบ  เพื่อนำไปประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ  เช่น  บันทึกรายการขายรายวัน  บันทึกคะแนนเก็บของนักเรียน  และจำนวนนักเรียนที่ศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4
2.  การประมวลผลข้อมูล  (Process)  เป็นการคิด  คำนวณ  หรือแปลงข้อมูลดิบให้เป็นสารสนเทศ  อาจทำได้ด้วยเรียงลำดับ  การคำนวณ  การจัดรูปแบบ และการเปรียบเทียบ  ตัวอย่างการประมวลผล  เช่น  การคำนวณรายได้ของผู้ปกครอง  กานับจำนวนวันหยุดราชการบนปฏิทินและการหาค่าเฉลี่ยความสูงของนักเรียนทั้งห้องเรียน
3.  การแสดงผล  (Output)  เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงในรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการ  เพื่อส่งเสริมหรือช่วยในการตัดสินใจ
Rounded Rectangle: Input4.  การจัดเก็บข้อมูล  (Storage)  เป็นการจัดเก็บข้อมูลดิบหรือสารสนเทศทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ  เนื่องจากการนำข้อมูลดิบเข้าสู่ระบบมีการจัดเก็บจนถึงระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงนำไปประมวลผล  หรือสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลก็ต้องจัดเก็บเพื่อนำไปเปรียบเทียบกับสารสนเทศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  โดยวัตถุประสงค์หลักของการจัดเก็บ  คือ  เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในอนาคตนั่นเอง




















Rounded Rectangle: Process
Rounded Rectangle: Output















Rounded Rectangle: Storage
Rounded Rectangle: Storage
 





แผนผังกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ
ตัวอย่างระบบสารสนเทศ
                ตัวอย่างระบบสารสนเทศของจำนวนผู้ยืมหนังสือยอดนิยม  5  อันดับแรกจากห้องสมุดในระยะเวลา  6  เดือน  มีดังนี้ 

1.              การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศ  สามารถทำได้ด้วยการจดบันทึกรายการหนังสือที่มีผู้ยืมมากที่สุด  5  ลำดับ  โดยจัดเก็บในรูปแบบตารางข้อมูลจำนวนผู้ยืมหนังสือ
ชื่อหนังสือ
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
เก่งคอมพิวเตอร์ง่ายนิดเดียว
18
10
26
5
22
6
ความสุขของกะทิ
30
15
8
15
7
20
เคล็ดลับอัจฉริยะระดับโลก
18
10
21
5
24
13
ยุ่งรักยัยตัวแสบ
25
30
8
12
18
4
แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต
25
32
17
10
18
19
ตารางข้อมูลจำนวนผู้ยืมหนังสือ
                2. การประมวลผลจากข้อมูลในตาราง  โดยนำจำนวนผู้ยืมหนังสือมารวบรวมเป็นจำนวนผู้ยืมในระยะเวลา 6  เดือน  และเรียงลำดับข้อมูลตามความนิยม
                3.  การแสดงผลด้วยการจัดทำเป็นสารสนเทศ  โดยจัดทำในรูปแบบต่าง ๆ  เช่น  ตารางสารสนเทศลำดับหนังสือยอดนิยมและแผนภูมิแท่งแสดงรายการหนังสือยอดนิยม
ลำดับยอดนิยม
ชื่อหนังสือ
จำนวนผู้ยืมในระยะเวลา  6  เดือน
1
แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต
121
2
ยุ่งรักยัยตัวแสบ
97
3
ความสุขของกะทิ
95
4
เคล็ดลับอัจฉริยะระดับโลก
91
5
เก่งคอมพิวเตอร์ง่ายนิดเดียว
87
ตารางสารสนเทศลำดับหนังสือยอดนิยม



             4.  การจัดเก็บสารสนเทศ  สามารถจัดเก็บไว้ในรูปแบบของไฟล์งานเอกสาร  โดยบันทึกไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์
ลักษณะของระบบสารสนเทศที่ดี
             จากตัวอย่างของระบบสารสนเทศจะเห็นได้ว่า  สารสนเทศที่ได้จากระบบสารสนเทศมีหลากหลายรูปแบบ  ดังนั้นระบบสารสนเทศที่ดีจึงต้องพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้
             1. เชื่อถือได้  (Reliable)  ระบบสารสนเทศที่มีความเชื่อถือได้  โดยพิจารณาจาก
                      *  ความถูกต้องแม่ยำ  (Accurate)  ระบบสารสนเทศต้องมีการประมวลผลข้อมูลได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำ  กล่าวคือ  เมื่อคำนวณด้วยวิธีเดิมหลาย ๆ  ครั้ง  จะต้องได้ผลลัพธ์เท่าเดิมทุกครั้ง                        
                      *  ความสมบูรณ์ครบถ้วน  (Complete)  ระบบสารสนเทศที่ดีต้องมีฟังก์ชัน การทำงานครบถ้วน  เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานของผู้ใช้ระบบได้มากที่สุด
             2.  เข้าใจง่าย  (Simple)  ระบบสารสนเทศที่ดีต้องใช้งานง่าย  ใช้เวลาในการใช้งานไม่นาน
             3.  ทันต่อเวลา  (Timely)  ระบบสารสนเทศต้องผลิตสารสนเทศให้ทันต่อเหตุการณ์  มีระยะเวลาการรอคอยไม่นาน
             4.  คุ้มราคา  (Economical)  ระบบสารสนเทศที่นำมาใช้งานต้องให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับการลงทุน
             5.  ตรวจสอบได้  (Verifiable)  ระบบสารสนเทศต้องสามารถตรวจสอบผลลัพธ์จากการประมวลผลได้ว่า  ผลลัพธ์นั้นหามาได้อย่างไร
             6.  ยืดหยุ่น  (Flexible)  ระบบสารสนเทศต้องสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบันได้  เช่น  เมื่อมีการเปลี่ยนกฎหมายให้เพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม  ระบบสารสนเทศต้องสามารถปรับเปลี่ยนให้ถูกต้องตรงตามกฎหมาย  หรือสามารถขยายขีดความสามารถให้รองรับการทำงานของผู้ใช้หลายคนได้
             7.  สอดคล้องกับความต้องการ  (Relevant)  ระบบสารสนเทศต้องผลิตสารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำงาน  สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจได้
             8.  สะดวกในการเข้าถึง  (Accessible)  ระบบสารสนเทศต้องอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย
             9.  ปลอดภัย  (Secure)  ระบบสารสนเทศต้องมีระบบรักษาความปลอดภัย  เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาต  หรือต้องมีแผนการสำรองข้อมูลและกู้คืนข้อมูลที่อาจเกิดความเสียหายจากการใช้งานได้